เพลงบอก
เพลงบอก
เป็นเพลงพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมสูงสุด
และมีการแพร่กระจายทั่วทั้ง
14 จังหวัดภาคใต้
ตลอดไปถึงคนไทยในประเทศมาเลเซีย
ศิลปินที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
และจังหวัดสงขลา
คำว่าเพลงบอก
มาจากภาระหน้าที่ของเพลงชนิดนี้
กล่าวคือ
สมัยก่อนเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์จะมีนักเลงกลอนชาวบ้าน
เที่ยวตระเวนไปแทบทุกครัวเรือน
เพื่อขับร้องกลอนบอกสงกรานต์ตามคำทำนายของโหรหลวง
เพลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า
"เพลงบอก"
กลอนเพลงบอกพัฒนามาจาก
"แปดบท"
ขุนประดิษฐ์เป็นผู้คิดดัดแปลง
จึงเรียกกันในครั้งนั้นว่า
"เพลงบอกขุนประดิษฐ์"
ต่อมาพระรัตนธัชมุนี
(ม่วง รัตนธัชเถร)
ได้ปรับรูปแบบกลอนอีกครั้งหนึ่ง
และได้ใช้แต่งเรื่อง
"ศาลาโกหกหรือสัจจศาลา"
มอบให้ลูกเสือมณฑลนครศรีธรรมราชนำไปร้องในคราวชุมนุมลูกเสือแห่งชาติที่กรุงเทพฯ
เมื่อ พ.ศ. 2470
ผู้แสดง ใช้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงอย่างน้อย
6-7
คนหรือมากกว่านี้ก็ได้
ประกอบด้วยแม่เพลงและลูกคู่
การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมืองชาวภาคใต้ตามลักษณะชาวบ้านที่มีความเป็นอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ
การแสดง จะแตกต่างกันไปตามโอกาส
ซึ่งถือว่ามีขนบนิยมในการเล่น
ดังนี้
1. เล่นบอกสงกรานต์ เล่นได้ในช่วงตั้งแต่ขึ้น
3 ค่ำ เดือน 5
จนถึงวันเถลิงศก
โดยคณะเพลงบอกและผู้นำทางซึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน
ออกว่าเพลงบอกไปตามบ้านต่างๆ
ตั้งแต่พลบค่ำจนสว่าง
วิธีเล่นเพลง
เมื่อคณะเพลงบอกถึงเขตรั้วบ้าน
แม่เพลงจะขึ้นบทไหว้ครู
ไหว้นนทรี
ซึ่งเป็นเทวดารักษาประตูบ้าน
ไหว้พระภูมิและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เมื่อก้าวเข้าสู่ลานบ้านจะชมบ้านเรือน
ทรัพย์สินต่างๆ
ฝ่ายเจ้าบ้านจะเปิดประตูปูเสื่อต้อนรับนอกตัวเรือน
หลังจากคณะเพลงบอกสนทนากับเจ้าบ้านชั่วครู่
ก็ร้องกลอนบอกเรื่องราวของสงกรานต์ที่โหรทำนายให้ทราบ
เจ้าบ้านอาจให้คณะเพลงบอกร้องกลอนเล่าตำนานสงกรานต์
หรืออาจยกถาดข้าวขวัญจากยุ้งข้าวมาให้คณะเพลงบอกร้องบูชาแม่โพสพ เมื่อเจ้าบ้านพอใจก็จะตกรางวัลให้ตามธรรมเนียม
คณะเพลงบอกจะร้องเพลงอวยพร
แล้วไปร้องบอกสงกรานต์บ้านอื่นๆ
ต่อไป
2.
เล่นบอกข่าวคราวและโฆษณา เช่น
งานบุญต่างๆ
เพลงบอกจะร้องเชิญชวนทำบุญ
โดยจุดที่เพลงบอกอยู่จะมีการรับบริจาค เมื่อถึงช่วงเลือกตั้ง
ทางราชการอาจจะหาเพลงบอกมาร้องกลอนเชิญชวนชาวบ้าน
ให้ไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้ง
ชี้แนะให้เลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
เป็นต้น
ทางด้านการโฆษณาเพื่อผลทางธุรกิจ
ได้มีบริษัทห้างร้านหลายแห่งใช้เพลงบอกโฆษณาสินค้าทางวิทยุ
และในงานสวนสนุก
3. เล่นประชัน คือ
จัดเพลงบอก 2 คณะ
ให้ร้องโต้กลอนสด การเล่นจะจัดให้เพลงบอกคู่ประชันนั่งห่างกันประมาณ
1 วา โดยมีประธานนั่งกลาง
แต่ละฝ่ายจะมีแม่เพลง 1
คน และลูกคู่ 2-3 คน
ไม่มีกรรมการ
เริ่มโต้โดยผลัดกันไหว้ครู
จากนั้นฝ่ายหนึ่งร้องนำเป็นทำนองข่มสำทับฝ่ายตรงกันข้าม
เช่น เรื่องบุคคลิกลักษณะ
ประวัติชีวิต
ความรู้ความสามารถ
การกล่าวข่มสำทับจะใช้วิธีอุปมาหรือไม่ก็ยกอุทาหรณ์ประกอบ
ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องรู้ทันกัน การโต้จะดำเนินไปจนอีกฝ่ายเริ่มจนปัญญาจะยอมแพ้
หรือยุติกันไปเอง
หรือไม่ก็ฟังเอาจากเสียงโห่ของคนฟัง
ถ้าฝ่ายใดคนฟังให้เสียงโห่จนสิ้นเสียง
ฝ่ายนั้นชนะ
4. ร้องชา เป็นการร้องเพลงบอกเพื่อการบวงสรวง
บูชา หรือยกย่องชมเชย
เช่น ชาขวัญข้าว
ชาพระบรมธาตุ
ชาปูชนียบุคคลและบุคคลสำคัญ
การร้องเพลงชาสิ่งเร้นลับเพื่อการบวงสรวง
เช่น ชาขวัญข้าว
จะต้องจัดเครื่องเซ่นบวงสรวงด้วย ลำดับขั้นตอนการในการร้องชาต้องถูกต้องตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติกันมา
ดนตรี ใช้ฉิ่ง
1 คู่ สำหรับตีให้จังหวะ
เพลงร้อง จะใช้เพลงร้องเป็นกลอนเพลงบอกบทหนึ่งมี
2 บาท แต่ละบาทมี 4 วรรค
คำสุดท้ายของบาทแรก
ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของบาทแรกของบทต่อไป
ตัวอย่างตอนหนึ่งจากการประชันเพลงบอก
ระหว่างเพลงบอกรุ่ง
อำเภอปากพนัง
กับเพลงบอกปาน
อำเภอหัวไทร
จังหวัดนครศรีธรรมราช